วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

การติดตั้งระบบปฏิบัต Win 7

การติดตั้งวินโดวส์ 7
     
1. ใส่แผ่น Windows7 ลงใน CD-Rom จากนั้นทำการ Boot Computer
เมื่อเห็นข้อความดังกล่าวดังรูป ให้กด Enter 1ครั้งเพื่อเป็นการเข้าสู้หน้าต่างของการลง Windows7
** ในการปรับให้ให้ Bios นั้น Boots จากแผ่้นเป็นอันดับแรก
-โดยส่วนมาก PC จะกด del / . เข้าไปทำการเซ็ตค่า
- Notebook ส่วนมากจะกด F2 หรือให้สังเกตุดีๆตอนที่คอมพิวเตอร์Boot มันจะบอกอยู่
-แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / pc ส่วนมากจะกด F12 , F10 ครับ

13
2. ให้เราทำการเลือกดังภาพ
Language to install : English
Time : Thai(Thailand)
Keyboard : US ให้เลือกเป็น US ก่อน

Windows7_1
3. จากนั้นให้ทำการกด Install now

Windows7_2
4. ให้เราเลือก OS ที่เราต้องการลง โดยจะ มีทั้ง x86(32bit) , x64(64bit) แนะนำว่าผู้ใช้ทั่วไปควรลง x86 และกด Next

Windows7_3
5. ยอมรับเงื่อนไข Lincene ของ windows 7
ให้เราทำการ ติ๊ก() I accept the license > Next

Windows7_4
6. เมื่อผู้อ่านลง Windows 7 ใหม่หรือลงครั้งแรกจากการซื้อคอมพิวเตอร์ ก็ให้เลือก Custom(advanced)

Windows7_5
7. ขั้นตอนนี้เราเราเลือก Drive ที่จะลง OS Windows7 ส่วนมาก จะลงใน Disk 0 นะครับ ก็คือ Drive C: ของwindows เรานั้นเอง อย่าลง ผิด Drive นะครับดูดีดี

Windows7_6
************
สำคัญ แต่สำหรับคนที่เคยลง windows 7 แล้ว หรือลง windows ตัวอื่นแล้วจะมาลง Windows 7 ใหม่ให้ทำขั้นตอนนี้ด้วยนะครับ
ให้ไปที่ Drive options (advanced)

windows7_15
จาก นั้นให้เราเลือก Drive ที่เราเคยลง OS มาก่อน จากนั้นก็เลือก format ก่อนครับ จากนั้นก็เลือก Drive ที่เราจะลง OS จากนั้นก็กด Next

windows7_16
8. ขั้นตอนนี้ให้เรารอเวลาใน Install windows 7
 
Windows7_7
9. หลังจากนั้นให้เราใส่ชื่อ ผู้ใช้ อาทิเช่น ITITHAI จากนั้นก็กด Next

Windows7_8
10. Windows จะให้เราใส่ Password ในการ Login แต่ถ้าเราไม่ต้องการใส่ก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ

Windows7_9
11. ขั้นตอนนี้ให้เราใส่ Product key ซึ่ง Product key จะอยู่ที่กล่อง ที่เราทำการซื้อ Windows 7 มาครับ

Windows7_10
12. ขั้นตอนนี้ให้เราเลือก Use recommended Setting เพื่อเป็นการ Update Patch windows ต่างๆ

Windows7_11
13. ให้เราเลือกเวลา Time Zone : UTC+07.00 Bangkok,Hanoi,Jakarta

windows7_12
14. ในหัวข้อนี้ถ้าเรายังไม่แน่ใจ ให้เราเลือก Public network (ตามที่Microsoft แนะนำ)

Windows7_14
15. จากนั้นเราก็จะได้ Window7 ที่หน้าตาที่สวยงาม ดังภาพ ครับ โชคดีในการลงนะครับ

windows7-13
16. ก็เป็นเสร็จสิ้นในการลง Windows 7

การประกอบคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ซึ่งเราสามารถหัดประกอบด้วยตนเองได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก


2. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้นนำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรงกัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของซีพียู


3. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือนเดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง
4. ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อยในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบสนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขาสปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริง
ให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ดอาจเสียหายได้



5. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด


6. นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้นจึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้านอาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)


7. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับเคส


8. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว


9. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส


10. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส


11. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด


12. สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น



13. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไปด้วย


14. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ดโดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย


15. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น


16. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย


17. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย


18. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น

19. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์


20. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม) ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดงของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์
บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน



21. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สายสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย


22. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ดควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่


23. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความเสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบการติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ
แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อกติดกันอย่างแน่นหนา



24. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการประกอบเครื่องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบแล้ว

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


          ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็ สะดวกขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  ที่เห็นง่ายๆ เลย ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานกันอยู่ดีกว่า

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หลักๆ

          รู้กันมั้ยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก

     1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
          
           2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย

           3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ

          4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ




          จอภาพ หรือ monitor เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขายคอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของโน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมาไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที

          เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย


          พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

     คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง
           ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

            เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด


                ซีพียู (CPU) มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อนข้อมูลลงไป


              การ์ดแสดงผล (Display Card) หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
                 เมาส์ (Mouse) จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์
              เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว

                 แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที


                     CD Drive / DVD Drive / CD-RW Drive / DVD-RW Drive เป็นไดรฟ์ สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้ เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ